บทความวิชาการ

มาตรฐาน มอก. ที่มีวงกลม กับ ไม่มีวงกลม แตกต่างกันอย่างไร

เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป (จะไม่มีวงกลม)

เป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ สมอ. กำหนดมาตรฐาน ของผลิตภัณฑ์นั้นไว้แล้วซึ่งผู้ผลิตสามารถยื่นขอการรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ (มาตรฐานทั่วไป) เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในมาตรฐานและหลัก ประกันให้กับผู้บริโภคหรือผู้ซื้อว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพ มีความปลอดภัยคุ้มค่า และเหมาะสมกับราคา เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารวัสดุก่อสร้าง วัสดุสำนักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ(จะมีวงกลม)

          เป็นเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไป ตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ บริโภคและป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดต่อเศรษฐกิจและ สังคม โดยส่วนรวม โดยกฎหมายบังคับผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ จำหน่าย จะต้องผลิต นำเข้า และจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไป ตามมาตรฐานแล้วเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ติดแสดงไว้ทุกหน่วยเพื่อแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้น ได้ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้วตามกฎหมาย เช่น ไม้ขีดไฟ สายไฟฟ้า บัลลาสต์ ผงซักฟอก ท่อพีวีซี ผลิตภัณฑ์ เหล็ก ถังดับเพลิง ของเล่นเด็ก หมวกกันน๊อค เป็นต้น

สายไฟ มอก. 11 เป็นสายไฟที่มีตัวนำเป็นทองแดง และฉนวนเป็นพีวีซี แรงดันต่ำ (แรงดันตั้งแต่ 450-750 โวลต์)ดังนั้นสายไฟที่ไม่ได้มีตัวนำเป็นเป็นทองแดง และไม่มีได้มีฉนวนเป็นพีวีซี จะไม่จัดอยู่ใน มอก.11 และก็ยังคงใช้มาตรฐานตามเดิม ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มาตรฐานสายไฟ มอก.11-2553 ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว กับมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของ วสท.2556การเปลี่ยนมาตรฐานและสีของสายไฟนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เปลี่ยนมาตรฐานเป็น มอก11-2553 ซึ่งต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดันและชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐาน IEC code ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และร่วมถึงประเทศที่อยู่นี้กลุ่ม AEC ด้วย เมื่อมีกฎหมายสีของฉนวนสายไฟชนิดตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีเปลี่ยน ตาม มอก.11-2553 นั้น แต่ในส่วนของสายไฟประเภท CV ซึ่งเป็นฉนวนประเภท XLPE นั้นผู้ผลิตได้ทำการเปลี่ยนให้เอง ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับ เพราะเห็นว่าจะทำให้มีสีไปในทางเดียวกัน ในเมื่อกฎหมายการผลิตสายไฟมีการเปลี่ยน ในส่วนของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท) ซึ่งเป็น สถาบันอิสระที่ทำมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับด้านวิศวกรรม แต่หลายๆองค์กร เช่น การไฟฟ้า MEA ,PEA ร่วมทั้งกรมโยธาธิการและผังเมือง และหน่วยงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ใน กฎหมายบางมาตราเกี่ยวกับ พรบ. ควบคุมอาคาร ก็ได้นำมาตรฐานนี้มาอ้างอิงและบังคับใช้ ดังนั้นเมื่อมาตรฐานสายไฟมีการปรับปรุง

           อาจารย์ยงยุทธ  แจ่มเสียง (เขียน/เรียบเรียง)