บทความวิชาการ

ความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่อับอากาศ

บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานใน “ที่อับอากาศ” 

ผู้อนุญาต  :     

1.  ประเมินความเป็นอันตรายในพื้นที่ 

2.  ออกหนังสืออนุญาตทำงานอนุมัติให้มีการทำงานในที่อับอากาศ 

3.  วางแผนการปฏิบัติงาน  ตรวจสอบพื้นที่ก่อนและระหว่างปฏิบัติงาน

 ผู้ควบคุม   :    

1.  วางแผนการทำงานและการป้องกันอันตราย 

2.  ควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงาน  ชี้แจงหน้าที่  วิธีทำงาน  การป้องกันอันตราย  สั่งหยุดงานชั่วคราวได้

 ผู้ช่วยเหลือ   :  

1.  ให้ความช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานหากเกิดเหตุฉุกเฉิน  ไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่ 

2.  ตรวจสอบรายชื่อและจำนวนผู้เข้าปฏิบัติงาน 

3.  ตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อมใช้งาน

 ผู้ปฏิบัติงาน   : 

1.  ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน  แจ้งอันตรายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน 

2.  สวมอุปกรณ์ PPE  ตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน

 หมายเหตุ   :    ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนต้องผ่านการอบรมตามบทบาทหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด

 

สถานที่อับอากาศ  หมายถึง  บริเวณที่

1.  มีขนาดเพียงพอที่คนสามารถเข้าไปได้

2.  มีทางเข้าออกจำกัด  เช่น  ถังไซโล  ห้องนิรภัย  อุโมงค์  ถ้ำ  หลุมที่มีทางเข้าจำกัด  ท่อ  แทงค์น้ำ  ช่องใต้พื้นอาคาร  เป็นต้น

3.  พื้นที่ซึ่งทางเข้าออกหรือช่องเปิดอยู่ไกลจากจุดปฏิบัติงาน  หรือมีขนาดเล็ก

4.  ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

 

มาตรการการป้องกันอันตรายในสถานที่อับอากาศ

1.  จัดทำป้าย “ที่อับอากาศ  อันตราย  ห้ามเข้า”  ติดหน้าทางเข้าออกและต้องขออนุญาติก่อนเข้าทำงานทุกครั้ง

2.  ตรวจสอบก๊าซพิษ  ก๊าซติดไฟ  และปริมาณก๊าซออกซิเจนต้องอยู่ระหว่าง  19.5 – 23.5 ก่อนทำงานทุกครั้ง

3.  ต้องมีผู้ควบคุม  และมีผู้ช่วยเหลืออยู่ประจำบริเวณทางเข้าออก  ตลอดเวลาที่มีการทำงาน

4.  จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล  Personal  Protective  Equipment (PPE)   อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสม