1. หลีกการสัมผัสฝุ่นละออง
หลีกการสัมผัสกับฝุ่นละออง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืดและภูมิแพ้ ซึ่งฝุ่นละอองสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยผ่านระบบทางเดินหายใจเข้าสู่โพรงจมูกไปยังถุงลมปอด จนทำให้เกิดการอักเสบหรือการระคายเคืองเรื้อรัง ในผิวหนังและดวงตาได้
2. ปิดประตูหน้าต่าง และหมั่นทำความสะอาดบ้านทุกวัน
ในช่วงที่มีฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน ให้ปิดประตูหน้าต่างด้านที่รับลม เพื่อป้องกันฝุ่นละอองพัดเข้าบ้าน เปิดประตูหน้าต่างด้านตรงข้ามกับทิศทางลม เพื่อลดฝุ่นละอองที่เข้ามา และถ้าเป็นไปได้อาจตั้งภาชนะบรรจุน้ำไว้ที่หน้าต่างที่เปิด ซึ่งจะช่วยลดหมอกควันที่เข้ามาได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญควรหมั่นรักษาความสะอาดภายในบ้าน โดยทำความสะอาดทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการดูดฝุ่นหรือถูพื้น
3. ใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพ
ใช้หน้ากากที่มีประสิทธิภาพ ในการกรองอนุภาคฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ เช่น N95 หรือ P100
4. เลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือทำงานนาน ๆ 12 ชั่วโมงในที่ที่มีฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน แต่หากจำเป็นต้องทำกิจกรรมนอกบ้าน ขอให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดๆ หรือหน้ากากกันฝุ่น ที่สามารถป้องกันฝุ่นขนาดเล็กมาปิดจมูกปิดปาก และดื่มน้ำให้มาก ๆ
5. ลดการใช้รถยนต์ ไม่เผาขยะ และงดสูบบุหรี่
ลดการใช้รถยนต์หรือใช้เท่าที่จำเป็น รณรงค์ให้ใช้รถโดยสารสาธารณะและทางเดียวกันไปด้วยกัน เพื่อไม่ให้มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ ทำให้อากาศแย่ไปกว่าเดิม และไม่เผาขยะโดยเฉพาะขยะที่มีสารพิษ เช่น พลาสติก ยางรถยนต์ รวมถึงขยะทั่วไป ทั้งนี้ควรงดสูบบุหรี่ในช่วงที่พบฝุ่นละอองในอากาศมากด้วย
ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติ ให้รีบไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลโดยเร็ว หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 142
อ้างอิงจาก https://tonkit360.com/36742/
อาจารย์พีระพันธ์ พานโพธิ์ทอง (เขียน/เรียบเรียง)