บทความวิชาการ

การต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท (Wire nut)

การทำงานทุกสาขาอาชีพ ล้วนแต่เป็นองค์ความรู้ทั้งสิ้น องค์ความรู้ตามธรรมชาติแล้วจะได้รับการถ่ายทอดนั้นจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม และอุปสรรคในการทำงาน และถ้าไม่แก้ปัญหาก็เดินหน้าทำงานต่อไปไม่ได้  ในการทำงานย่อมเกิดปัญหาอยู่ตลอดเวลาที่คนทำงานก็ต้องแก้  การแก้ปัญหาในงานนั้นก็ต้องอาศัยความรู้เดิมที่มีอยู่  และนำวิธีแก้ปัญหาของผู้ปฏิบัติงานก่อนหน้านี้ มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา  ดังนั้น ความหมายของคำว่า   นวัตกรรม คนไทยส่วนมากแล้วยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันไป เพราะส่วนมากแล้วจะมองไปถึงเครื่องจักรกลขนาดใหญ่  แต่บางครั้งก็อาจมองข้าม แนวคิด สร้างสรรค์ใหม่ กระบวนการทำงานใหม่ หรือวิธีการทำงานแบบใหม่  ๆ   ที่นำมาสร้างสรรค์งานให้เกิดประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าได้ ก็นับเรียกว่าเป็น นวัตกรรม  เช่นเดียวกัน  และในการทำงานก็มีการคิดค้น หรือเรียกว่า กระบวนการใหม่ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ที่อยากจะนำเสนอ คือเรื่องของงาน ช่างต่อสายไฟ  เป็นกระบวนการทำงานที่ช่างไฟ นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในการทำงานได้จริง  เรียกว่า ต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท   เป็นการต่อสายไฟฟ้าในระบบท่อร้อยสายที่ให้ฝังตัวอยู่ในฝ้าเพดาน ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจมาก 

วิธีต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท (Wire nut)

การต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัท (Wire nut) จะต้องใช้วิธีหมุน เพื่อให้ไวร์นัทรัดสายให้แนบชิดกันก่อน เมื่อต่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องใช้เทปพันตรงสายไฟ เนื่องจากปลอกของไวร์นัทเป็นฉนวนอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้จุดต่อสายไฟดังกล่าวลงกราวด์ได้  ซึ่งการต่อสายไฟฟ้าด้วยไวร์นัทนั้น จะนิยมนำมาต่อในกล่องต่อสาย (Junction box) โดยเฉพาะการเดินสายในท่อร้อยสาย ส่วนการใช้เทปพันสาย ซึ่งเทปพันสายนั้นเป็นวัสดุฉนวนไฟฟ้าที่นิยมใช้ทั่วไปนั้น  จะมีราคาถูกควรเลือกเกรดที่ดี

  อาจารย์ยงยุทธ แจ่มเสียง (เขียน / เรียบเรียง)