บทความวิชาการ

การแบ่งประเภทของไฟ

          โดยทั่วไปแบ่งชนิดของไฟตามลักษณะและปฏิกิริยาในการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงตามมาตรฐานของสมาคมป้องกันอัคคีภัยของสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association : NFPA)

          ไฟประเภท A (Class “A”)  เป็นการเผาไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาโดยทั่วไป  เช่น  ไม้  กระดาษ  ผ้า  พลาสติก  ฯลฯ  เชื้อเพลิงเหล่านี้มีลักษณะ  และปฏิกิริยาในการเผาไหม้  โดยการคายไอออกมาตามผิวโดยที่เนื้อแท้ของเชื้อเพลิงยังไม่แปรสภาพเป็นของเหลว

          ไฟประเภท B  (Class “B”)  เป็นการเผาไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นสารไอโดรคาร์บอนทุกชนิด เช่น ก๊าซธรรมชาติ  ก๊าซหุงต้ม (LPG)  น้ำมันที่ใช้กับรถยนต์ยางมะตอย  พาราฟิน  ตัวทำลายต่าง ๆ  เป็นต้น  โดยที่มีลักษณะของการลุกไหม้โดยเป็นก๊าซหรือของเหลวที่ขับไอออกมา  ถ้าเป็นลักษณะแข็งตัวก็จะหลอมเหลวแล้วคายไอออกมา

          ไฟประเภท C  (Class “C”)  เป็นการเผาไหม้ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากอาร์คสปาร์ค  การใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง  เมื่อเกิดการเผาไหม้ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น  โดยกระแสไฟฟ้ายังไม่ได้ถูกตัดออก  แต่ถ้าหากตัดกระแสไฟฟ้าออกแล้วสิ่งเหล่านี้ก็คือ  เชื้อเพลิง “A” “B” หรือ “D” นั่นเอง

          ไฟประเภท D  (Class “D”)  เป็นการเผาไหม้ที่เกิดจากพวกโลหะที่ลุกไหม้และให้ความร้อนสูง  พวกวัตถุระเบิด  พวกที่ทำปฏิกิริยากับน้ำได้  เช่น  แมกนีเซียม (Magnesium) ,  โซเดียม  (Sodium)  ,  ไทเทเนียม (Titanium) , โปรแตสเซียม (Potassium)  เป็นต้น  ลักษณะการลุกไหม้ของประเภท “D” นี้จะให้ความร้อนสูงมากทำให้เกิดการลุกลามอย่างรวดเร็วบางครั้งเกิดการระเบิดขึ้นและเชื้อเพลิงบางชนิดทำปฏิกิริยากับน้ำ  เช่น  โซเดียม  ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจน  ซึ่งเป็นก๊าซที่ไวไฟ

          ไฟประเภท K  (Class  “K”)  เป็นการเผาไหม้ที่เกิดจาก  คราบน้ำมันหมู  น้ำมันพืชหรือในปล่องระบายควันในห้องครัว