บทความวิชาการ

รู้จักส่วนประกอบของรถโฟล์คลิฟท์เพื่อความปลอดภัย

   ในการทำงานปัจจุบันนี้เครื่องจักรมีส่วนสำคัญในหลากหลายกระบวนการผลิต อาทิ เช่น โฟล์คลิฟท์ ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่ใช้กันมากมายในอุตสาหกรรมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น โรงทอ โรงพิมพ์ หรืออุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะใช้โฟล์คลิฟท์เข้ามามีบทบาทในการขนส่ง เครื่อนย้าย วัตถุดิบต่างๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้การขนส่งสะดวก สบาย มากขึ้นกว่าสมัยก่อนที่ยังใช้แรงงาน คน หรือ สัตว์ ในการเคลื่อนย้ายสิ่งของ แต่เมื่อมีประโยชน์มากมายแล้วนั้น โฟร์คลิฟท์ ยังส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ใช้งานและคนรอบข้างได้อย่างรุนแรง ในฐานะผู้ฝึกสอนการขับโฟร์คลิฟท์ จึงเขียนบทความเพื่อให้ผู้ใช้งานได้รู้จักส่วนประกอบของรถโฟล์คลิฟท์ และตรวจสอบส่วนต่างๆก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้น

ส่วนประกอบของโฟล์คลิฟท์ มีดังนี้

 1. เสารถโฟล์คลิฟท์ (Mast) คือ อุปกรณ์รางเลื่อนสำหรับให้ส่วนของงาขึ้น-ลง โดยทั่วไปเสารถโฟล์คลิฟท์จะมี 2 ท่อน ซึ่งยกได้ประมาณ 3 เมตร แต่ถ้าต้องการยกได้สูง 5-6 เมตร จะต้องเปลี่ยนเสาให้สูงขึ้น หรือใช้เสา 3 ท่อน (Full Free Mast) เสา 3 ท่อน คือ อุปกรณ์พิเศษของเสา เป็นเสาที่สามารถนำไปใช้ในสถานที่ที่มีความจำกัดได้
 2. งารถโฟล์คลิฟท์ (Fork) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ยกสิ่งของต่างๆ และงายังเป็นอุปกรณ์ที่ "อันตราย" ที่สุด งานของรถโฟล์คลิฟท์มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งของที่ต้องการยก
 3. กระบอกไฮดรอลิค (Hydraulic) โดยมาตราฐานรถโฟล์คลิฟท์จะมีกระบอกไฮดรอลิคอยู่ 3 ชุด ดังนี้
   3.1) กระบอกยก คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ยกงาขึ้นลง มี 2 กระบอก
   3.2) กระบอกคว่ำ-หงาย คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่เอียงเสาไปหน้าและหลัง มี 2 กระบอก
   3.3) กระบอกบังคับเลี้ยว คือ กระบอกไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่บังคับการเลี้ยวของรถโฟล์คลิฟท์ ในส่วนนี้จะมีกระบอกเดียว
 4. ล้อหน้า (Front Wheel) คือ ล้อที่มีหน้าที่ 3 ประการ ดังนี้
   4.1) รับน้ำหนักบรรทุก หรือ ล้อโหลด
   4.2) ขับเคลื่อน
   4.3) เบรค
 5. ล้อหลัง (Rear Wheel) คือ ล้อที่ทำหน้าที่บังคับเลี้ยวเพียงอย่างเดียว

ใส่ใจแบตเตอร์รี่สักนิดจะไม่ผิดพลาดในการทำงาน

  ถ้ากล่าวถึงแบตเตอร์รี่นั้น อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการชาร์จ ดังนั้นควรชาร์จแบตเตอรี่ต่อเมื่อกระแสไฟใกล้จะหมดเท่านั้น และในการชาร์จแต่ละครั้งต้องชาร์จต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ชั่วโมงติดต่อกัน ไม่ควรชาร์จแบบถอดเข้าถอดออก บริเวณที่ใช้เป็นที่ชาร์จแบตเตอรี่จะต้องเป็นสถานที่ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี เนื่องจากในขณะที่ชาร์จ น้ำกลั่นจะระเหยออกมาทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้หากอยู่ในที่อับ ก่อนทำการชาร์จแบตเตอรี่ ต้องเปิดฝาจุกน้ำกลั่นทุกครั้ง เพื่อตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ และตรวจสอบสภาพปลั๊กไฟว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ชำรุด หรือแตกร้าว หรือถ้าชำรุดต้องดำเนินการแก้ไขก่อนทำการชาร์จจะต้องเสียบปลั๊กของแบตเตอรี่กับตู้ชาร์จให้แน่น เพื่อไม่ให้เกิดการอาร์คหรือช๊อตของกระแสไฟจะต้องตรวจสอบขั้วแบตเตอรี่ สายไฟ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของแบตเตอรี่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่เสมอ ถ้าพบว่าขั้วแบตเตอรี่ และผิวของแบตเตอรี่สกปรก มีขี้เกลือให้ทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน และเช็ดให้แห้ง ดังนั้น ผู้ที่ทำการขับขี่จึงต้องเป็นผู้ตรวจสอบในชิ้นส่วนต่างๆของโฟล์คลิฟท์เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง